Header Image
เตรียมรับมือการค้าโลกป่วน
watermark

แม้การเลือกตั้ง “ประธานาธิบดีสหรัฐฯ” จะยังไม่เกิดขึ้น จนกว่าจะถึงเดือน พ.ย.2567 แต่ขณะนี้ เป็นช่วงการหาเสียงของผู้ที่คาดว่าจะเป็น “คู่ชิง” ในศึกเลือกตั้ง คือ “นายโจ ไบเดน” ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน กับ “นายโดนัลด์ ทรัมป์” อดีตประธานาธิบดี 

.

ตอนนี้ ยังไม่รู้ว่าใครจะ “เข้าวิน” ได้รับเลือกให้เป็น “ตัวแทน” ของพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันในการสู้ศึกษเลือกตั้งครั้งนี้ และเท่าที่ติดตามข่าวล่าสุด เป็นการ “แข่งขัน” ระหว่าง “ไบเดน-ทรัมป์” ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง   
.

แต่ไม่ว่า “สุดท้าย-ท้ายสุด” จะเป็นอย่างไร “กระทรวงพาณิชย์” ได้เตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า โดยทำการ “ศึกษา-วิเคราะห์” ผลที่จะเกิดขึ้นในด้าน “เศรษฐกิจ-การค้า” ไว้แล้ว 
.

โดยการศึกษาวิเคราะห์ เป็นการ “ดำเนินการ” ตามนโยบายของ “นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์” ที่ได้สั่งการให้ “เตรียมพร้อม-ตั้งรับ-ปรับตัว” ไม่ว่าใครจะมาเป็นประธานาธิบดี ไทยก็ต้องพร้อมรับสถานการณ์ทุกเมื่อ
.

สำหรับ “เหตุผล” ที่ต้องศึกษา ก็เพื่อให้ “ผู้ประกอบการไทย” ได้ “รับรู้” ตั้งแต่เนิ่น ๆ และจะได้เตรียมความพร้อม “รับมือ” ไว้ล่วงหน้า ดีกว่าเกิด “ผลกระทบ” แล้ว มาหาทางแก้ทีหลัง 
.

นอกจากนี้ ด้วยความที่ “สหรัฐฯ” เป็นประเทศ “มหาอำนาจเบอร์ 1 ของโลก” ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง การทหาร และเทคโนโลยี ไม่ว่าจะขยับไปทางไหน ก็ล้วนแต่มี “ผลกระทบ” ต่อโลกไม่มากก็น้อย 
.

ขณะที่ในด้าน “การค้า” มี “ความสำคัญ” กับไทย โดยเป็น “ตลาดส่งออกอันดับ 1” และเป็น “คู่ค้าอันดับ 2” รองจากจีน อีกทั้งเป็นประเทศที่ “ลงทุนโดยตรง” ในไทย เป็นอันดับ 5 รองจากญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และเนเธอร์แลนด์
.

ทางด้าน “ผลการศึกษา” ทิศทางการค้าหลังเลือกตั้ง ที่จัดทำโดย “สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)” ซึ่งเป็นหน่วยงาน “มันสมอง” ของกระทรวงพาณิชย์ พบว่า หาก “ไบเดน” ชนะการเลือกตั้ง การดำเนินนโยบายด้านการต่างประเทศและการค้าระหว่างประเทศจะเป็นไปในทิศทางเดิม คือ การทำสงครามเทคโนโลยีกับจีน การส่งเสริมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศ การแก้ปัญหาเงินเฟ้อ การให้ความสำคัญเรื่องโลกร้อน สิ่งแวดล้อม การพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงการดึงฐานการผลิตกลับประเทศ 
.

หาก “ทรัมป์” ชนะ อาจเห็นการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญ 2 มิติ ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกในวงกว้าง ได้แก่ ด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยจะลดการให้ความช่วยเหลือประเทศที่อยู่ในพื้นที่ขัดแย้ง โดยเฉพาะการยกเลิก ลดการสนับสนุนยูเครน ซึ่งจะส่งผลให้สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนสิ้นสุดในไม่ช้า แต่ในการลดบทบาทของสหรัฐฯ ในการสนับสนุนความมั่นคงในเวทีโลก โดยเฉพาะ NATO อาจทำให้มีความขัดแย้งในพื้นที่อื่น ๆ ปะทุได้ง่ายขึ้น ซึ่งวันนี้แทบปฏิเสธไม่ได้ว่าความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
.

ในด้าน “เศรษฐกิจ” ไม่ว่าจะ “ไบเดน” หรือ “ทรัมป์” กลับมา จะมีการใช้มาตรการปกป้องทางการค้าเข้มข้นขึ้น อย่างไบเดน เพิ่งประกาศขึ้นภาษีนำเข้าจากจีน อาทิ รถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ เซมิคอนดักเตอร์ โซลาร์เซลล์ เหล็กและอะลูมิเนียม รวมถึงแร่ธาตุสำคัญ และถ้าเป็นทรัมป์ ก็น่าจะมากับ “นโยบาย American First” ที่ทำให้เกิด “ความเสี่ยง” ทางเศรษฐกิจและการค้าโลก ด้วยการตั้งกำแพงภาษี การพัฒนาอุตสาหกรรมและการสร้างงานในประเทศ ด้วยการดึงบริษัทข้ามชาติกลับมา 
.

ทั้งนี้ สนค. ไม่เพียงแต่ศึกษาสิ่งที่คาดว่า “จะเกิดขึ้น” แต่ยังได้มี “ข้อแนะนำ” ถึงภาครัฐและผู้ประกอบการไทย โดย 1.ติดตามสถานการณ์การเลือกตั้งและนโยบายเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด 2.ปกป้องการค้าอย่างเหมาะสม กรณีมีการใช้มาตรการทางการค้า และส่งผลให้สินค้าบางส่วนไหลเข้าสู่ตลาดโลก รวมถึงไทย 3.ส่งเสริมผู้ประกอบการ ทั้งด้านการลงทุน การผลิต และการค้า 4.กระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือกับพันธมิตรทางการค้า เพื่อรักษาสมดุล 5.ดูแลเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ อาทิ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย อัตราเงินเฟ้อ และการจ้างงาน ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งให้กับ SME
.

ส่วน “ข้อเสนอแนะ” สำหรับผู้ประกอบการ เพื่อรับมือกับ “ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ” ที่อาจได้รับผลกระทบจากผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่อาจเกิดขึ้นในบางสาขาอุตสาหกรรม มีข้อสรุปออกมา ดังนี้ 
.

1.ปรับกลยุทธ์ทางการค้าและการส่งออก โดยการเปิดตลาดใหม่ การกระจายความเสี่ยงของตลาดส่งออก รวมถึงการปรับใช้ e-Commerce ในการส่งออกสินค้าไปยังผู้บริโภคทั่วโลกโดยตรง 
.

2.ใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงทางการค้าที่อาจเกิดขึ้น กรณีมีการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ โดยเฉพาะสินค้าจากจีนที่เพิ่มขึ้นถึง 60% จะทำให้สหรัฐฯ มีแนวโน้มบริโภคสินค้าที่ผลิตในประเทศมากขึ้นหรือนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่นทดแทนสินค้าจีน ซึ่งจะเป็นโอกาสให้ประเทศที่สาม รวมถึงไทย ในการขยายส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ 
.

3.ลดความผันผวนทางการค้าและกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ โดยเพิ่มความหลากหลายของแหล่งวัตถุดิบ สินค้านำเข้า ไม่ให้พึ่งพาประเทศใดประเทศหนึ่งมากเกินไป โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่สหรัฐฯ ตั้งเป้าหมายขยายการผลิตในประเทศหรือส่งเสริมการย้ายฐานการผลิตกลับประเทศ ผ่านการส่งเสริมการสร้างพันธมิตรทางการค้า และมองหาคู่ค้ารายใหม่ เพื่อลดความเสี่ยงที่ห่วงโซ่อุปทานจะหยุดชะงัก
.

จะเห็นได้ว่า “ผลการศึกษา” มีข้อหนึ่งที่เป็นไปใน “ทิศทางเดียวกัน” คือ การปกป้องทางการค้าที่จะ “เข้มข้นขึ้น-รุนแรงขึ้น”   
.

นั่นหมายความว่า ทั้งภาครัฐของไทย ทั้งผู้ประกอบการไทย ต้อง “ตั้งรับ-ปรับตัว” ให้ทันเกม และ “ต้องเริ่ม” ตั้งแต่บัดเดี๋ยวนี้ 
.

รวมทั้งต้องเตรียม “ความพร้อม” ไว้ล่วงหน้า และหา “ทางหนีทีไล่” ให้ได้ 
.

เมื่อถึงตอนนั้น ไม่ว่าใครจะมาเป็นประธานาธิบดี 
.

“การค้าไทย” คงไม่กระทบ หรือถ้าจะกระทบ ก็คงมีผลกระทบไม่มาก
.

แล้วที่สำคัญ “นายภูมิธรรม” ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงพาณิชย์ “ทำแผน-ทำกลยุทธ์” ช่วยผู้ประกอบการไทยรับมือไว้ล่วงหน้าแล้ว 
.

น่าจะช่วยให้มี “ความพร้อม” ได้ในระดับหนึ่ง 
 

.

อ่านเพิ่มเติมคลิก>>>https://www.commercenewsagency.com/columnist/711

-------------------------------------
ติดตาม CNA Online ผ่านช่องทางอื่น ๆ
Line@ - เพิ่มเพื่อน http://line.me/ti/p/%40uld0329i หรือค้นหา @cnaonline
Twitter - ติดตาม https://twitter.com/CNAOnlineTwit
Instagram – ติดตาม https://www.instagram.com/cna2you/
Youtube - https://www.youtube.com/channel/UC20isyIVU69Oi2BHAk0pPDg
Website - อ่าน www.commercenewsagency.com


Line

คะแนนโหวต :
starstarstarstarstar
จำนวนการเข้าชม : 115,867